วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเคลื่อนที่แนวดิ่ง

การเคลื่อนที่แนวดิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกเพียงแรงเดียว การเคลื่อนที่ลักษณะนี้จะไม่คิดแรงต้านของอากาศ เนื่องจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง คือ การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงแบบหนึ่งดังนั้นสมการในการคำนวณจึงเหมือนกับ สมการการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงแต่เปลี่ยนค่า เป็น เท่านั้น อ่านเพิ่มเติม


การเคลื่อนที่ของบอลลน

วัตถุที่ตกจากบอลลูนมีการเคลื่อนที่ กรณี

1. บอลลูนลอยขึ้นด้วยความเร็ว V
    ถุงทรายที่ตกจากบอลลูนจะมีความเร็ว เท่ากับบอลลูนและมีทิศขึ้นเหมือนบอลลูน และเมื่อถุงทรายหลุดจากบอลลูนจะเคลื่อนที่แบบตกอิสระภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ความเร่ง = -  m/s² อ่านเพิ่มเติม

มวลและความเฉื่อย

 มวล หมายถึง ปริมาณที่บอกว่าวัตถุมีความเฉื่อยน้อยหรือเฉื่อยมากเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็น กิโลกรัม (kg) มวลไม่ว่าอยู่ที่ใดจะมีค่าคงที่

     น้ำหนัก หมายถึง แรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุเป็นปริมาณ เวกเตอร์ มีหน่วยเป็น นิวตัน (N) อ่านเพิ่มเติม 
                                                                   

กฏข้อ 3 ของนิวตัน

"ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและมีทิศทางตรงข้ามเสมอ" หรือ "แรงกระทำซึ่งกันและกันของวัตถุทั้งสอง ย่อมมีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้าม"
                แรงกิริยา = แรงปฏิกิริยา

      กฎข้อนี้แสดงให้เห็นว่าแรงทุกแรงจะเกิดขึ้นเป็นคู่เสมอ เมื่อวัตถุ A ส่งแรงกระทำต่อวัตถุ B วัตถุ B ก็จะส่งแรงที่เท่ากันตอบกลับมาในทิศทางที่ตรงข้าม
ตัวอย่างเช่น ผู้ที่กำลังเล่นสเกตเลื่อน ออกแรงผลักผู้เล่นคนอื่น ทั้งคู่ก็จะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกัน

 อ่านเพิ่มเติม

กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน


      "ความเร่งของวัตถุจะแปรผันตรงและมีทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ และแปรผกผันกับมวลของวัตถุ เมื่อมีแรงลัพธ์ขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำกับวัตถุ"
                      F   = ma
                เมื่อ F  = แรงลัพธ์ (N)
                     m   = มวล (kg)
                      a   = ความเร่ง (m/s2)
      ตัวอย่างเช่น แรงขับเคลื่อนของเครื่องยนต์จรวดจะทำให้จรวดมีความเร็วเพิ่มขึ้น ความเร่งจะเพิ่มเป็นสองเท่า เมื่อเร่งเครื่องยนต์ขึ้นสองเท่า  อ่านเพิ่มเติม

กฎข้อที่ 1 ของนิวตัน (กฎความเฉื่อย)

   ถ้าวัตถุอยู่ในสภาพไม่คงไม่เคลื่อนที่ แรงตรงกันข้ามนั้นก็จะไม่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ หรือถ้าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่อยู่ก็จะยังคงเคลื่อนที่ต่อไปด้วยความเร็วคงที่
ตัวอย่าง
เช่น เวลาที่นักโดร่มกระโดดลงมาจาดเครื่องบิน จะมีช่วงที่แรงตกลงมา และแรงต้านของอากาศซึ่งกระทำกับร่างกายของผู้โดด ทำให้เกิดการทรงตัวอย่างสมดุล และความเร็วที่ตกลงมาจะคงที่
กฎข้อนี้ยังใช้อธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้ยานอวกาศบินอยู่ในห้วงอวกาศเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จนกว่าจะมีแรงมากระทำ โดยแรงที่มากระทำนี้อาจมาจากการจุดระเบิดของยานอวกาศนั่นเอง หรือเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่สนามความโน้มถ่วงของโลก อ่านเพิ่มเติม

แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน (Friction Force) คือ แรงที่ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ และมีทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ

แรงเสียดทานมี 2 ชนิด
    1. แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) คือ แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุในสภาวะที่วัตถุได้รับแรงกระทำแล้วอยู่นิ่ง กรณีนี้ค่าแรงเสียดทานสถิตมีหลายค่า (ตามแรงดึงหรือแรงผลักวัตถุ) จนถึงค่าแรงเสียดทานที่ อ่านเพิ่มเติม